ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรตที่21

ทักษะที่เด็กไทยควรมีในศตวรรษที่ 21

ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เด็กไทยควรมี

เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางด้าน สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างมหาศาล รวมทั้งการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการสื่อสาร พร้อมทั้งการใช้ชีวิตในโลกดิจิตอล ( DIGITAL LIFE) ดังนั้นเด็กไทยจึงควรมีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21  ดังนี้

ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม สามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ ผลิตความรู้ และพัฒนานวัตกรรมที่เป็นผลิตผลและกระบวนการโดยใช้เทคโนโลยี ด้วยการ:
• ประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการใหม่
 สร้างงานที่เป็นต้นแบบเพื่อสื่อถึงตัวตนหรือกลุ่ม
 ใช้โมเดลและการจำลองเพื่อสำรวจระบบและปัญหาที่ซับซ้อน
 หาแนวโน้มและคาดการณ์ความเป็นไปได้

การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน : สามารถใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิตอลและสภาพแวดล้อมทางดิจิตอลเพื่อสื่อสารและทำงานร่วมกันรวมทั้งเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ทางไกลสำหรับตนเองและผู้อื่น ด้วยการ :

 มีปฏิสัมพันธ์ให้ความร่วมมือและเผยแพร่งานร่วมกับเพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ และบุคคลอื่นๆ โดยใช้สื่อดิจิตอลและสภาพแวดล้อมทางดิจิตอลต่างๆ
 สื่อสารข้อมูลและความคิดไปสู่ผู้รับจำนวนมากอย่างมีประสิทธิผลโดยใช้สื่อหลากหลายรูปแบบ
• พัฒนาความเข้าใจทางวัฒนธรรมและจิตสำนึกต่อโลกการคลุกคลีกับผู้เรียนจากวัฒนธรรมอื่น
 ช่วยเหลือสมาชิกในโครงการให้ผลิตผลงานที่เป็นต้นแบบและช่วยแก้ไขปัญหา

ความเชี่ยวชาญในการค้นคว้าหาข้อมูล : สามารถใช้เครื่องมือดิจิตอลเพื่อรวบรวม ประเมิน และใช้ข้อมูล ด้วยการ :

 วางแผนยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางในการสืบค้น
• ค้นหา จัดระเบียบ วิเคราะห์ ประเมิน สังเคราะห์และใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรม จากแหล่งข้อมูลและสื่อต่างๆ
 ประเมินและคัดเลือกแหล่งข้อมูลและเครื่องมือดิจิตอลตามความเหมาะสมกับภารกิจนั้นๆ
 ประมวลข้อมูลและรายงานผล

การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ : สามารถแสดงทักษะการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อวางแผนและวิจัย บริหารโครงการ แก้ปัญหา และตัดสินใจจากข้อมูล โดยใช้เครื่องมือดิจิตอลและแหล่งข้อมูลดิจิตอลที่เหมาะสม ด้วยการ :

 กำหนดและนิยามปัญหาที่แท้จริงและคำถามสำคัญเพื่อค้นคว้า
 วางแผนและบริหารกิจกรรมเพื่อหาคำตอบหรือทำโครงการให้ลุล่วง
• รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบ หรือตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูล
• ใช้กระบวนการต่างๆและแนวทางที่หลากหลายเพื่อสำรวจทางเลือกอื่นๆ

ความเป็นพลเมืองดิจิตอล (Digital Citizenship) : สามารถแสดงความเข้าใจประเด็นสังคม วัฒนธรรม และความเป็นมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และปฏิบัติตนอย่างมีจริยธรรมและตามครรลองกฎหมาย ด้วยการ :

• สนับสนุนและฝึกใช้ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ถูกกฎหมายและอย่างรับผิดชอบ
• แสดงทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ การเรียนรู้และการเพิ่มผลผลิต
 แสดงให้เห็นว่าตนเองรู้จักรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
 แสดงความเป็นผู้นำในฐานะพลเมืองดิจิตอล

การใช้งานเทคโนโลยีและแนวคิด : สามารถแสดงให้เห็นว่าเข้าใจแนวคิด ระบบ และการทำงานของเทคโนโลยี ด้วยการ :

 เข้าใจและใช้ระบบเทคโนโลยีได้
• เลือกและใช้โปรแกรมประยุกต์อย่างมีประสิทธิผล
• แก้ไขปัญหาของระบบและโปรแกรมประยุกต์ได้
 รู้จักใช้ความรู้ที่มีปัจจุบันเพื่อเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีใหม่ๆ



ที่มา : มาตรฐานเทคโนโลยีทางการศึกษาแห่งชาติสำหรับนักเรียน , www.iste.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น